สารบัญ การปลูกกุหลาบ
 
 

 ทำไมถึงต้องเป็นกุหลาบ

การใส่ปุ๋ย

 

การเตรียมดินและการปลูก

การคลุมดินแปลงปลูก

 

การให้น้ำกุหลาบ

การตัดดอกกุหลาบ

 

การป้องกันวัชพืช และแมลง

โรคโดยทั่วไป

 

การตัดแต่งกิ่ง

สรุป

 

พันธุ์ที่นิยมปลูก


เอกสารอ้างอิง
 

การขยายพันธุ์

 

     กุหลาบ

 

     กุหลาบ เป็นไม้ดอกที่มีความสวยงามยากที่จะหาดอกไม้ชนิดอื่นมาเปรียบเทียบ ได้จนกระทั่งมีผู้ให้ฉายาว่า " ราชินีแห่งดอกไม้ " ดังนั้นกุหลาบจึงเป็นดอกไม้ที่ นิยมปลูกและใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้กุหลาบยัง มีคุณสมบัติที่ดีเด่นอีกหลายประการ สามารถใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง เช่น ใช้ เป็นไม้กระถาง ไม้ตัดดอก ตกแต่งสถานที่ ตลอดจนใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับทำเป็น น้ำมันหอมระเหยและดอกไม้แห้ง ในการปลูกเป็นการค้าก็ยังได้เปรียบดอกไม้อีก หลายชนิดเป็นต้นว่า สามารถควบคุมการออกดอกได้ง่ายซึ่งทำให้กำหนดการออกดอก ให้ตรงกับเทศกาลทำให้สามารถจำหน่ายได้ราคาดี และเนื่องจากกุหลาบเป็นดอกไม้ ที่นิยมของคนทั่วไป ดังนั้น จึงสามารถหาตลาดจำหน่ายได้ง่ายกว่าดอกไม้อื่น ๆ นอกจากนี้กุหลาบที่ปลูกในประเทศไทยยังเจริญเติบโตได้ดีในฤดูหนาวซึ่งต่างกับ ประเทศในแถบยุโรปที่ต้องการกุหลาบมาก การจะปลูกกุหลาบในฤดูหนาวต้อง ปลูกในเรือนกระจก ทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูงจึงส่งผลให้ดอกกุหลาบมีราคาแพง ดังนั้น ประเทศที่ปลูกกุหลาบได้ดีในฤดูหนาวจึงสามารถตัดดอกส่งไปขายในตลาดต่าง ประเทศได้ราคาดี


การเตรียมดินและการปลูก

     ถึงแม้กุหลาบจะปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ดินที่ต่างกันก็ย่อมทำให้ การเจริญเติบโตดีเลวต่างกันออกไป ดังนั้นก่อนปลูกควรเตรียมดินดังนี้

     ในภาคกลางซึ่งมีสภาพดินค่อนข้างเหนียว และค่อนข้างเป็นกรดจัด ระดับ น้ำใต้ดินสูง เกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบจะนิยมปลูกแบบร่องสวน ซึ่งมีคูน้ำคั่นกลาง โดยเริ่มเตรียมดินในฤดูแล้ง คือจะต้องฟันดินและตากดินให้แห้ง เพื่อกำจัดวัชพืช ก่อน ในขณะที่ตากดินนี้อาจโรยปูนขาวลงไปด้วยก็ได้ เมื่อดินแห้งดีแล้วจึงกลับ หน้าดิน และชักดินในแต่ละแปลงให้มีขอบสูง ตรงกลางเป็นแอ่งเล็กน้อย ขนาด ของแปลงกว้างและยาวตามพื้นที่เดิมที่เคยปลูกผักมาแล้ว การวางระยะห่างของ ต้นที่จะปลูกอาจใช้ระยะ 50 x 50 เซนติเมตร จำนวนแถวในแต่ละแปลงไม่ควร เกิน 3 แถว เพื่อความสะดวกในการตัดดอกและตัดแต่งกิ่งตรงแถวกลาง

     สำหรับในภาคอื่นที่มีสภาพดินค่อนข้างร่วนหรือดินร่วนปนทราย อาจ ปลูกแบบเจาะหลุมปลูกหรือแยกแปลงปลูกก็ได้โดยวัดขนาดแปลงปลูกกว้าง 1 .20 เมตร เว้นทางเดิน 1 เมตร ความยาวของแปลงปลูกตามขนาดของพื้นที่ และใช้ ระยะปลูก 60 x60 เซนติเมตร ซึ่งจะได้จำนวนต้นประมาณ 2,000 ต้นต่อไร่ (หรือ ทำแปลงปลูกกว้าง 1 เมตร เว้นทางเดิน 1 เมตร และใช้ระยะปลูก 50 x 50 เซนติเมตร สำหรับพันธุ์กุหลาบที่ขนาดของทรงพุ่มไม่แผ่กว้างมากนัก) ก่อนปลูกควรหว่าน ปูนขาวและไถพรวนตากดินไว้ให้แห้ง

     กุหลาบสามารถปลูกได้ทั้งในดินที่เป็นกรดหรือด่าง แต่เจริญได้ดีในดิน ที่ค่อนข้างเป็นกรดเล็กน้อย คือมี pH ประมาณ 4.5-6.5 ถ้าดินเป็นกรดมากให้เติม ปูนขาว 60-100 กิโลกรัมต่อ 100 ตารางวา แต่ถ้าดินเป็นด่างก็ใส่กำมะถันผง 20-50 กิโลกรัมต่อ 100 ตารางวา เมื่อเตรียมแปลงปลูกเรียบร้อยแล้ว ให้ขุดหลุม ปลูกกว้างและลึก 30 x 30 เซนติเมตร ( ถ้าเตรียมหลุมปลูกกว้างและลึกกว่านี้ จะ เป็นการดียิ่งขึ้น) จากนั้นก็จะใส่ปุ๋ยคอก เช่น ขี้เป็ด ขี้ไก่ ขี้วัว ฯลฯ ประมาณหลุมละ 1 บุ้งกี๋ ใส่ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต หรือกระดูกป่นเป็นปุ๋ยรองก้นหลุม ๆ ละ 1 กำมือ คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงนำกิ่งพันธุ์กุหลาบซึ่งอาจจะเป็นกิ่งตอนหรือต้นติดตา ลงไปปลูก กลบดินที่โคนต้นให้กระชับและรดน้ำให้ชุ่ม

                                                                                                                                                                   กิ่งพันธุ์ที่นิยมนำมาปลูกเพื่อตัดดอกเป็นการค้าในปัจจุบัน ได้แก่ กิ่งตัดชำ และกิ่งตอนจะมีเกษตรกรบางรายที่ปลูกโดยใช้ต้นติดตา แต่มีน้อยราย

 

การให้น้ำกุหลาบ

     กุหลาบเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูง ปริมาณน้ำที่รดลงไปในดินปลูกควร กะให้น้ำซึมได้ลึกประมาณ 16-18 นิ้วและอาจเว้นระยะการรดน้ำได้คือ ไม่จำเป็น ต้องรดน้ำทุกวัน ( ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดินปลูก) มีข้อควรจำอย่างยิ่งในการรดน้ำ กุหลาบคืออย่ารดน้ำให้โดนใบ
เนื่องจากโรคบางโรคที่อยู่ตามใบหรือกิ่งจะแพร่ระบาด กระจายไปได้โดยง่าย การให้น้ำก็ไม่ควรให้น้ำกระแทกดินปลูกแรงๆ เพราะเม็ดดิน จะกระเด็นขึ้นไปจับใบกุหลาบ ทำให้เชื้อโรคบางชนิดที่อาศัยอยู่ในดินระบาดกลับ ขึ้นไปที่ต้นโดยง่ายและถ้าจำเป็นจะต้องรดน้ำให้เปียกใบควรจะรดน้ำในตอนเช้า

 


การป้องกันกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก

อาจจะใช้แรงงานคนเก็บถอนหรือใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชซึ่งมีทั้งชนิดคุม กำเนิดและชนิดที่ถูกทำลายต้นตาย ( อัตราการใช้จะระบุอยู่ที่ฉลากของขวด) ข้อควรระวังในการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดวัชพืชนี้คือ พยายามหลีกเลี่ยงที่จะฉีดพ่นสาร ให้ถูกต้นหรือใบกุหลาบและไม่ใช้ถังฉีดพ่นปะปนกับถังที่ใช้พ่นสารเคมีป้องกันกำจัด โรคและแมลง
ดูรายละเอียดเรื่องโรคและแมลงศัตรูพืช รวมถึงวิธีป้องกันได้จาก Rose Clinic

 


การตัดแต่งกิ่ง

การตัดแต่งกิ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปลูกกุหลาบ ถ้าผู้ปลูกกุหลาบไม่มี การตัดแต่งกิ่งเลยก็จะทำให้ต้นกุหลาบเจริญเติบโตอย่างอิสระ แตกกิ่งก้านมาก เกินไป ทำให้ดอกมีขนาดเล็ก ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ดังนั้น เกษตรกรจึง ควรมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ต้นได้รูปทรง พุ่มต้นและโคนต้นโปร่งได้รับแสงแดด มากขึ้น ดอกที่ได้จะมี ขนาดใหญ่และมีคุณภาพดี นอกจากนี้การตัดแต่งกิ่งยังช่วย กำจัดโรคและแมลงที่แอบแฝงอยู่ในพุ่มต้นได้ดีอีกด้วย รวมทั้งสามารถแต่งดิน ในแปลงปลูกได้สะดวก ทำให้กุหลาบที่ได้มีการตัดแต่งกิ่งแล้วเจริญเติบโตดีขึ้น

การตัดแต่งกิ่งกุหลาบสามารถ ทำได้ 2 แบบคือ

1. การตัดแต่งกิ่งแบบให้เฑลือกิ่งไว้กับต้นยาว คือ ตัดแต่งกิ่งออกเพียงเล็กน้อย โดยให้เหลือกิ่งที่มีใบสมบูรณ์ไว้มากเพื่อให้มีอาหารเลี้ยงต้นมาก การตัดแต่งกิ่งมีหลักในการพิจารณาเลือกกิ่งที่จะต้องตัดออกคือกิ่งที่แห้งตาย กิ่งที่ เป็นโรคหรือถูกแมลงทำลาย กิ่งไขว้ที่เจริญเข้าหาทรงพุ่ม กิ่งที่ล้มเอนไม่เป็นระเบียบ ควรจะต้องให้ตาที่อยู่บนสุดของกิ่งหันออกนอกพุ่มต้น เพื่อให้กิ่งที่แตกใหม่หัน ออกนอกทรงพุ่มด้วยและตัดกิ่งให้เฉียง 45 องศา สำหรับการตัดแต่งกิ่งแบบให้ เหลือกิ่งไว้กับต้นยาวนี้ใช้ได้กับกุหลาบที่ปลูกจากกิ่งตัดชำและกิ่งตอน

2. การตัดแต่งกิ่งแบบให้เลือกกิ่งไว้กับต้นสั้น คือ ตัดแต่งกิ่งจนเหลือกิ่งบนต้นสูงจากพื้นดินประมาณ 30- 45 เซนติเมตร แล้วเหลือกิ่งไว้ 3-4 กิ่งเท่านั้นการตัดแต่งกิ่งแบบนี้จะตัดแต่งได้เฉพาะต้นกุหลาบที่ปลูกจากต้นติด ตาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าต้นติดตานั้นมีอายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ตัดแต่งกิ่งแบบแรก แต่ต้องตัดเพิ่มเติมอีก คือ กิ่งแก่ที่ไม่ต้องการและกิ่งชักเกอร์ ( กิ่งของต้นตอซึ่งเป็นกุหลาบ พันธุ์ป่า)

สำหรับระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการตัดแต่งกิ่ง คือ ต้นฤดูฝน เมื่อตัดแต่ง กิ่งให้น้อยลงตามความต้องการแล้วควรใช้ปูนแดงผสมกับยากันรา หรือใช้สีน้ำมัน ทาบนรอยแผลที่ตัดเพื่อป้องกันการเน่าลุกลามของเชื้อราจากรอบแผลที่ตัด นอกจาก นี้ควรเก็บกิ่งและใบที่ตัดออก ทำความสะอาดแปลงให้เรียบร้อยด้วยแล้วจึง แต่งดินในแปลงปลูก คือ ไถพรวนหน้าดิน ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี รวมทั้งใช้วัสดุ คลุมแปลงปลูกพร้อมทั้งรดน้ำให้ชุ่มด้วย จะทำให้กุหลาบแตกตาได้เร็วและได้ต้น ที่สมบูรณ์


 


โรคและแมลงศัตรูกุหลาบ

1. โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา มีลักษณะอาการเป็นจุดดำกลมบนใบ ส่วนใหญ่จะเป็นกับใบแก่จะทำให้ใบเหลืองและร่วงในเวลาต่อมา บางครั้งถ้าเป็นมากอาจ ลุกลามมาที่กิ่งด้วย ระบาดมากในฤดูฝน ควรป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น ดูปราวิท ไดเทนเอ็ม -45 แคปแทน เบนเสท และเบนโนมิล

2. โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อรา โรคนี้จะเป็นกับยอดอ่อนและดอกอ่อนมีลักษณะเป็นปุยขาวคล้ายแป้งทำให้ส่วนของพืชที่เป็นโรคนี้เกิดอาการหงิกงอไม่เจริญเติบโตต่อไป ระบาดมากในฤดูหนาว ควรป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น เบนเสท ดาโคนิล และคาราแทน

3. โรคหนามดำ เกิดจากเชื้อราโดยเชื้อรานี้จะเข้าทำลายแผลที่เกิดจากรอยตัดหรือเด็ดหนามของกิ่งอ่อนแล้วลุกลามไปเรื่อยๆ ตามกิ่งก้าน ทำให้กิ่งก้าน เหี่ยวแห้งตายไปในที่สุดควรป้องกันโดยทาแผลจากรอยตัดด้วยปูนแดง

4. โรคใบจุดสีน้ำตาลหรือโรคตากบ เกิดจากเชื้อรา มีลักษณะอาการเป็นจุดกลมสีน้ำตาลขนาด 1/4 นิ้ว แล้วจะเปลี่ยนเป็นวงกลมสีเทามีขอบสีม่วง-แดง ระบาดมากในฤดูฝน ควรป้องกันโดยใช้สารเคมีเบนเสท ไดเทนหรือแบนแซดดี

5. โรคไวรัส เกิดจากเชื้อไวรัส ลักษณะอาการจะปรากฎให้เห็นที่ใบ โดยใบจะด่างเหลือง เมื่อพบว่าต้นกุหลาบเป็นโรคนี้ให้ถอนและเผาทำลายเสีย

 

 

พันธุ์

กุหลาบที่ปลูกในประเทศไทยปัจจุบันนี้มีอยู่ด้วยกันหลายประเภทซึ่งถ้า แบ่งออกโดยสังเขปจะได้ดังนี้

1. กุหลาบตัดดอกหรือไฮบริดที (Hybrid Tea หรือ HT)J ปกติมัก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวมีขนาดโต กลีบดอกซ้อน พุ่มต้นตั้งตรงสูงประมาณ 1- 2 เมตร กุหลาบที่มีขายทั่วไป ตามท้องตลาดขณะนี้มักจะเป็นกุหลาบประเภทนี้ อย่า งไร ก็ตาม พันธุ์ ไฮบริดที นั้น มิได้ใช้บลูกเป็นไม้ตัดดอกได้ดีทุกพันธุ์ ดังนั้น จำเป็น ต้องคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมสำหรับแต่ละท้องที่ ลักษณะที่เหมาะสมสำหรับจะใช้ เป็นพันธุ์สำหรับตัดดอก คือ

1. แข็งแรง ต้นโต เลี้ยงง่ายและเจริญเติบโตได้ดี
2. ออกดอกสม่ำเสมอไม่โทรมไวเมื่อถูกตัดดอกไปมาก ๆ
3. ทนต่อโรคและแมลงได้ดีพอสมควร
4. ลำต้นตั้งตรง ซึ่งจะทำให้ปลูกได้ชิดกันเป็นการประหยัดเนื้อที่
5. ให้กิ่งก้านยาวตรง มีหนามน้อย ใบงามสมดุลกับกิ่ง
6. ฟอร์มดอกดี ทรงดอกยาวแบบแจกันหรือปลายกลีบดอกแหลม
7. กลีบดอกไม่ซ้อนหนาเกินไปจนดอกบานไม่ออก
8. กลีบดอกหนา ทนต่อการบรรจุหีบห่อและขนส่ง
9. ดอกมีสีสะดุดตาและไม่เปลี่ยนสีเมื่อดอกโรย
10. ไม่เหี่ยวเฉาง่ายหลังจากตัดแล้ว
11. ดอกมีกลิ่นหอม (ถ้าเป็นไปได้)

 

2. กุหลาบพวง หรือ ฟลอริบันด้า ( Foribunda หรือ F.) กุหลาบพวงมีความแข็งแรงทนทานกว่ากุหลาบตัดดอก ออกดอกดกแต่ดอกไม่ใหญ่เท่ากับกุหลาบตัดดอกแต่มีครบทุกสี และออกดอกเป็นช่อทีละหลาย ๆ ดอก จึงนิยมเรียกว่ากุหลาบพวง และมักบานพร้อมกัน ดอกมีขนาดเล็ก พุ่มต้นตั้งตรงสูง ประมาณครึ่งเมตรถึง 1 เมตร เหมาะสมที่จะปลูกในแปลงประดับและในกระถางเช่น พันธุ์ฟูซีเลียร์, พันธุ์แองเจลเฟส

3. ประเภทแกรนดิฟลอร่า (Grandiflora หรือ Gr. ) กุหลาบประเภทนี้เป็นกุหลาบลูกผสมระหว่างกุหลาบตัดดอก และกุหลาบพวง มีลักษณะเป็นดอกเดี่ยว แต่ดอกเล็กกว่ากุหลาบตัดดอก มีก้านยาว ต้นโต สูง และแข็งแรง เช่ น พันธุ์คาเมล็อท, พันธุ์คาเสทไนท์

4. กุหลาบ หรือ มินิเอเจอร์ (Miniature หรือ Min.) เป็นกุหลาบที่มีขนาดพุ่มต้นเล็ก สูง 1- 2 ฟุต ออกดอกเป็นพวงและดอกมีขนาดเล็ก นิยมปลูกประดับแปลง และใช้เป็นไม้กระถาง เช่น พันธุ์เบบี้ มาสเคอร์เหรด

5. กุหลาบเลื้อย หรือ ไคลมเบอร์ (Climher หรือ Cl.) กุหลาบชนิดนี้ลำต้นสูงตรง นำไปเลื้อยพันกับสิ่งต่าง ๆ ได้ดอกมีทั้งเป็นดอกขนาดใหญ่ และดอกเป็นพวง เช่น พันธุ์ดอนจวน , พันธุ์ค็อกเทล

6. ประเภทโพลีแอนท่า (Polyantha หรือ Pol.) เป็นกุหลาบลูกผสมระหว่างพันธุ์โรซ่า มัลติฟอร่า กับ โรซ่า ไชเนนซิสมีขนาดพุ่มต้นเตี้ย แข็งแรงและทนทานมาก ออกดอกเป็นพวงคล้ายกุหลาบพวง ลักษณะดอกและต้นคล้ายกุหลาบหนูแต่จะแตกต่างกับกุหลาบหนูตรงที่กุหลาบโพลีแอนท่าจะมีหูใบที่มีลักษณะของพันธุโรซ่า มัลติฟลอร่า กุหลาบประเภทนี้ เช่น พันธุ์วายวอน ราเบีย

7. ประเภทแรมเบลอร์ (Rambler หรือ R) มีลำต้นยาวและอ่อนโค้งออกดอกเป็นพวง และดอกมีขนาดเล็ก เช่น พันธ์ไดโรที เปอร์กิน

8. กุหลาบพุ่ม หรือซรับโรส (Shrub หรือ S.) ได้แก่กุหลาบพันธุ์ป่าหรือลูกผสมของพันธุ์ป่า ซึ่งมีทรงต้นเป็นพุ่ม ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็กส่วนมากมีกลีบชั้นเดียว เช่น พันธ์โรซ่า นิติด้า , โรซ่า มัลติฟลอร่า, โรซ่า รูโกซ่า

 

 


การขยายพันธ์

การขยายพันธุ์กุหลาบที่นิยมใช้มี 3 วิธี คือ

1. การตัดชำ

วิธีการตัดชำที่นิยมทำอยู่ทั่วไปคือ เลือกกิ่งกุหลาบที่ไม่แก่และไม่อ่อน จนเกินไปนำมาตัดเป็นท่อนประมาณ 12- 15 เซนติเมตร หรือ 1 คืบ รอยตัดต้อง อยู่ใต้ข้อพอดีแล้วตัดใบตรงโคนกิ่งออก จากนั้นเฉือนโคนทิ้ง แล้วจุ่มโคนกิ่งตัดชำนี้ ในฮอร์โมนเร่งราก เซ่น เซอราดิกส์ เบอร์ 2 ( เพื่อช่วยเร่งให้ออกรากเร็วขึ้น) แล้วผึ่ง ให้แห้งนำไปปักชำในแปลงพ่นหมอกกลางแจ้ง ถ้าไม่มีแปลงพ่นหมอกก็ใช้เครื่องพ่นน้ำรดสนามหญ้าก็ได้แล้วให้น้ำเป็นระยะ ๆ ตามความจำเป็น โดยมีหลักว่าอย่า ให้ใบกุหลาบแห้ง กิ่งกุหลาบจะออกรากใน 12-15 วัน แล้วแต่พันธุ์ การชำกิ่งนี้ นิยมทำกันมากในปัจจุบันเพราะได้จำนวนต้นมากในระยะเวลาสั้นเสียค่าใช้จ่าย น้อยแต่กิ่งชำนี้เมื่อนำไปปลูกต้นจะโทรมเร็วภายใน 3- 4 ปี ซึ่งกุหลาบพันธุ์สีเหลือง และสีขาวมักจะออกรากยาก

2. การตอน

กิ่งที่ใช้ตอนมักมาจากกิ่งที่มีสภาพแตกต่างกันทั้งกิ่งอ่อนและกิ่งแก่ คละกันไปทำให้การเจริญเติบโตของต้นกุหลาบหลังลงแปลงปลูกในแปลงไม่สม่ำเสมอ ซึ่งการตอนนี้จะใช้เวลาในการเกิดรากนานประมาณ 4-7 สัปดาห์ ทั้งนี้ แล้วแต่ พันธุ์ที่จะใช้ตอน

3. การติดตา

วิธีการทำต้นกุหลาบติดตานี้ค่อนข้างยุ่งยากและต้องใช้เวลาในการทำ นานกว่า 2 วิธีแรกคือ ตั้งแต่เริ่มตัดชำต้นตอป่าจนถึงพันธุ์ดีทีนำไปติดนั้นออก ดอกแรกจะใช้เวลาประมาณ 5-6 เดือน โดยในขั้นแรกจะต้องตัดชำต้นตอป่า ( ของกุหลาบป่า) ให้ออกรากและเลี้ยงต้นตอป่านั้นให้แตกยอดใหม่ยาวเกิน 1 ฟุต ขึ้นไป ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ( หลังตัดชำและออกราก) จากนั้นจึงนำ ตาพันธุ์ดีที่ต้องการไปติดตาที่บริเวณโคนของต้นตอป่า การติดตานี้จะต้องอาศัย ฝีมือและความชำนาญพอสมควรโดยจะใช้วิการติดตาแบบใดก็ได้ เช่น แบบตัวที เป็นต้น

วิธีติดตา วิธีติดตากุหลาบที่ได้ผลดีคือการติดตาแบบที่เรียกว่ารูปตัวที หรือ แบบโล่ มีวิธีทำดังนี้คือ

1. เลือกบริเวณที่จะติดตา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะพยายามติดตาให้ต่ำที่สุด เท่าที่จะทำได้คือ ประมาณไม่เกิน 3 นิ้ว นับจากผิวดิน แล้วใช้กรรไกรหรือมีด ตัดหนามตรงบริเวณที่จะติดตาออกโดยรอบกิ่ง

2. ใช้ปลายมีดกรีดที่เปลือกเป็นรูปตัวที แล้วเผยอเปลือกตรงรอยกรีด ด้านบนให้เปิดออกเล็กน้อย

3. เฉือนตาเป็นรูปโล่ ให้ได้แผ่นตำยาวประมาณ 1 นิ้ว และให้แผ่นตานั้น มีเนื้อไม้ติดมาด้วยเพียงบางๆ ไม่ต้องแกะเนื้อไม้ติดมามาก ให้ลอกเนื้อไม้ออกอย่าง ระมัดระวังอย่าให้แผ่นตาโค้งงอหรือบอบช้ำ

4. นำแผ่นตาไปเสียบลงที่รอยกรีดของต้นตออย่างระมัดระวังอย่าให้แผ่นตาช้ำ โดยใช้มือซ้ายจับแผ่นตา (ตรงก้านใบ) ค่อย ๆ กดลงไปขณะเดียวกันมือขวา ก็ค่อยเปิดเปลือกช่วย แล้วพันด้วยพลาสติก

เพื่อให้ตาเจริญเติบโตเร็วขึ้น ควรปล่อยให้กิ่งใหม่เจริญเติบโตจนกระทั่ง กิ่งใหม่ยาวพอสมควรแล้วจึงตัดต้นตอที่อยู่เหนือกิ่งใหม่ออกทั้งหมด สำหรับ พลาสติก ที่ติดตาอยู่นั้นอาจจะปล่อยให้ผุหรือหลุดไปเองก็ได้ถ้าเห็นว่าแผ่นพลาสติกนั้นรัด ต้นเดิมแน่นเกินไปหรือไปขัดขวางการเจริญเติบโตของกิ่งใหม่ก็ให้แกะออก

ส่าหรับกิ่งที่แตกออกมาใหม่นี้ ควรมีไม้ผูกพยุงกิ่งไว้เสมอเพราะอาจจะ เกิดการฉีกขาดตรงรอยต่อได้ง่ายเนื่องจากรอยประสานยังไม่แข็งแรงนัก

ในกรณีที่การติดตานั้นไม่ได้ผล คือ แผ่นตาที่นำไปติดตานั้นเปลี่ยนเป็น สีน้ำตาลหรือสีดำให้รีบแกะแผ่นพลาสติกและแผ่นตานั้นออกแล้วติดตาใหม่ในด้าน ตรงข้ามกับของเดิม หากไม่ได้ผลอีกต้องเลี้ยงดูต้นตอนั้นจนกว่ารอยแผลจะเชื่อม ก้นดีแล้วจึงนำมาติดตาใหม่ได้

สำหรับการติดตาในกุหลาบแบบทรงต้นสูง (Standard) นั้นก็ทำเช่นเดียวกัน เพียงแต่ตำแหน่งที่ติดตาอยู่ในระดับสูงกว่าเท่านั้นเอง การติดตาจะติดที่ต้นตอหรือกิ่ง ขนาดใหญ่ที่แตกออกมาก็ได้

 


การใส่ปุ๋ย

ในระยะแรกของการปลูกจะเป็นระยะที่ต้นกุหลาบเจริญเติบโตสร้างใบ และกิ่ง ควรใส่ปุ๋ยเคมีที่มีสูตรตัวแรกคือไนโตรเจนสูง โดยใส่ทุก 15 หรือ 30 วัน อัตราการใส่ 1 กำมือต่อต้น ก่อนใส่ปุ๋ยควรมีการพรวนดินตื้นๆ อย่าให้กระทบ รากมากนัก แล้วโรยปุ๋ยให้รอบ ๆ ต้นห่างจากโคนต้น 4-6 นิ้วแล้วแต่ขนาดของ ทรงพุ่ม จากนั้นก็รดน้ำตามให้ซุ่ม ( แต่อย่ารดน้ำจนโชก) เมื่อกุหลาบเริ่มให้ดอก ควรใช้ปุ๋ยเคมีที่มีฟอสฟอรัสและโปแตสเซี่ยมสูงควบคู่กันไปเพื่อเร่งการออกดอก และทำให้ก้านดอกแข็งแรง นอกจากนี้อาจจะให้ปุ๋ยทางใบเพิ่มเติมก็จะเป็นการดี ข้อควรระวังในการใส่ปุ๋ย หลังจากปลูกแล้วคือควรโรยปุ๋ยให้กระจายรอบ ๆ ต้น อย่างสม่ำเสมออย่าใส่เป็นกระจุก ๆ ที่จุดใดจุดหนึ่งเพราะอาจทำให้เกิดความเสียหาย ต่อต้นกุหลาบได้ เนื่องจากมีความเข้มข้นของปุ๋ยตรงจุดที่ใส่มากเกินไป

 


การคลุมดินแปลงปลูก

เนื่องจากกุหลาบเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดจัดอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง ดังนั้นสถานที่ปลูกกุหลาบจึงต้องเป็นที่โล่งแจ้งและจะต้องมีความชื้นสูงด้วย การ คลุมแปลงปลูกจึงเป็นสิ่งจำเป็นส่าหรับการปลูกกุหลาบโดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายใน ท้องถิ่นนั้นๆ เซ่น หญ้าแห้ง ฟาง เปลือกถั่วลิสง ซังข้าวโพด ชานอ้อย ขุยมะพ้าว แกลบ และขี้เลื่อย เป็นต้น ควรจำไว้ว่าวัสดุที่จะนำมาคลุมแปลงปลูกนี้ควรเป็น วัสดุที่เก่า คือ เริ่มสลายตัวแล้วมิฉะนั้นจะทำให้เกิดการขาดไนโตรเจนกับต้น กุหลาบ ดังนั้นถ้าไซ้วัสดุที่คลุมแปลงค่อนข้างใหม่ควรเติมปุ๋ยไนโตรเจนลงไปด้วย การคลุมแปลงนี้นอกจากจะช่วยรักษาความชื้นและอุณหภูมิรวมทั้งเพิ่มความโปร่ง ของดิน และเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินในแปลงปลูกแล้วยังช่วยป็องกันวัชพืชให้ขืน ช้าอีกด้วย

 


การตัดดอกกุหลาบ

การตัดดอกกุหลาบเพื่อจำหน่ายนั้น ควรให้มีกิ่งเหลืออยู่อย่างน้อย 2 กิ่ง เสมอ ( กิ่งที่มีใบย่อยครบ 5 ใบ) ไม่ควรตัดชิดโคนกิ่ง และเมื่อตัดดอกออกจาก ต้นแล้วให้รีบแช่ก้านดอกในน้ำทันทีเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำจากกิ่ง โดยทั่วไป เกษตรกรนิยมตัดดอกในตอนบ่ายและเย็น หรืออาจตัดในตอนเช้าก็ได้ ( เพื่อจะได้ส่งตลาดทันเวลา) แต่เนื่องจากดอกกุหลาบมีอายุการใช้งานสั้นและกลีบดอก ก็ช้ำได้ง่าย ฉะนั้นการตัดดอกกุหลาบในช่วงที่ยังไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดปัญหาได้ เช่น ถ้าตัดดอกตูมเกินไป ดอกก็จะไม่บานและคอดอกจะโค้งงอง่าย แต่ถ้าตัดดอกที่บานเกินไป ดอกกุหลาบจะบานเร็ว และมีอายุการปักแจกันสั้น

 


สรุป

กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจจะทำการปลูก เนื่องจากใช้ประโยชน์ ได้หลายอย่างไม่ว่าจะปลูกเพื่อตัดดอกบูชาพระหรือปักแจกันประดับโต๊ะให้สวยงาม แม้กระทั่งปลูกตัดดอกขายก็ยังมีรายได้ดีไม่แพ้พืชชนิดอื่นๆ และตลาดกุหลาบก็กว้างขวางเป็นที่นิยมของคนทั่วไป ขายได้ง่าย นอกจากนั้นแล้วผู้ปลูกกุหลาบยังสามารถหารายได้จากการขยายพันธุ์กิ่งตอน กิ่งติดตา และต้นล้างรากอีกด้วย จะเห็นได้ว่ากุหลาบเป็นพืชที่น่าปลูกเป็นได้อย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถทำรายได้ได้หลายทางหรือจะกล่าวว่าเกือบทุกส่วนของกุหลาบเป็นเงินเป็นทองทั้งสิ้นและสิ่งสำคัญที่สุด อันเป็นคุณลักษณะเด่นของกุหลาบคือเป็นพืชที่มีตลาดกว้างขวางและถ้าผู้ปลูกได้มีการปรับปรุง คุณภาพให้ดีมีดอกใหญ่ก้านยาวก็จะเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศเป็นแน่แท้


เอกสารอ้างอิง

1. กรมส่งเสริมการเกษตร. 2533. ข้อมูลการผลิตไม้ตัดดอกที่สำคัญ. งานไม้ดอกไม้ประดับ กลุ่มพืชสวน กองส่งเสริมพืชพันธุ์.

2. กรมส่งเสริมการเกษตร. 2533. คู่มือการผลิตไม้ตัดดอก. งานไม้ดอกไม้ประดับ กลุ่มพืชสวน กองส่งเสริมพืชพันธุ์.

3. กรมส่งเสริมการเกษตร. 2530. คู่มือการผลิตไม้ตัดดอกเพื่อการส่งออก. งานไม้ดอกไม้ประดับ กลุ่มพืชสวน กองส่งเสริมพืชพันธุ์.

4. กรมส่งเสริมการเกษตร. 2531. รายงานการสัมมนา เรื่อง การผลิตกุหลาบ เพื่อการส่งออก. งานไม้ดอกไม้ประดับ กลุ่มพืชสวน กองส่งเสริมพืชพันธุ์.

5. คณะกรรมการบริหารกลุ่มผู้ปลูกกุหลาบเชียงใหม่. 2534. คู่มือสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกกุหลาบเชียงใหม่.

6. ณัฐยา สามพระยา. ม.ม. ป. คุยกันเรื่องกุหลาบ. สาขาไม้ดอกไม้ประดับ กองพืชสวน กรมวิชาการเกษตร.

7. สมเพียร เกษมทรัพย์. 2528. การปลูกไม้ตัดดอก. ฟันนี่พับบลิชชิง กรุงเทพฯ.

8. สมเพียร เกษมทรัพย์. 2532. เทคโนโลยีการผลิตและธุรกิจไม้ตัดดอก. กรุงเทพฯ.

9. สายชล เกตุอุษา. 2531. เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวของดอกไม้. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.