![]() |
||
![]() |
||
![]() |
โรคที่เกิดในดอกของกุหลาบ |
|
|
||
เกิดจากตัวอันตรายเหล่านี้
ดอกกุหลาบถูกตัวหนอนเจาะมุดเข้าไปกัดกินหนอนกระทู้หอม ( Beet armyworm หรือ Onion Cutworm) ชื่อวิทยาศาสตร์ Spodoptera exiqua (Hubbner) ลักษณะการทำลาย หนอนกระทู้หอม เป็นแมลงที่ชาวสวนผักรู้จักดี ในชื่อหนอนหลอดหอม หรือหนอนหนังเหนียว ตัวหนอนเมื่อออกจากไข่ใหม่ ๆ จะมีนิสัย เจาะมุดเข้าไปกัดกินในพืช เช่น ในใบหอม , กัดกินในดอกกุหลาบ ในยอดอ่อนของพืช ทำให้ยากแก่การสังเกต รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ หนอนกระทู้หอม ตัวเมียวางไข่ประมาณ 20-80 ฟอง มีใบสีขาวคลุม วางไข่ระหว่าง 16.00-20.00 น. ไข่จะฟักเป็นตัวหนอนภายใน 72 ชั่วโมง ตัวหนอนมี 6 วัย ตัวหนอนมีลำตัวตรงราบเรียบเท่ากันตลอดตั้งแต่หัวถึงท้ายลำตัว มีแถบสีขาวข้างลำตัว แถบสีมีได้หลายสี ด้วยกัน หนอนโตเต็มที่ยาว 2.5 เซ็นติเมตร ระยะหนอน 14-17 วัน เข้าดักแด้ในดิน 5-7 วัน ก็เป็นผีเสื้อขนาดกางปีกกว้าง 2.0-2.5 เซ็นติเมตร ปีกคู่หน้ามีสีน้ำตาลแก่ปนเทา มีจุดสีน้ำตาลอ่อน 2 จุดตรงกลางปี ปีกคู่หลังมีสีขาวขุ่น ตัวเมียตัวหนึ่งวางไข่ได้หลายร้อยฟอง การแพร่กระจาย พบมีการระบาดของหนองกระทู้หอมอย่างรุนแรงในแปลงปลูกหอมแดง ที่อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี รวมถึงภาคกลาง แต่ปัจจุบันพบ การแพร่ระบาดทั่วประเทศ และสามารถขยายพันธุ์ได้ตลอดปี เนื่องจากพืชอาหารกระจายอยู่ทั่วไป พืชอาหาร หนอนกระทู้หอมมีพืชอาหารมากมาย ใบไม้ดอก เช่น กุหลาบ ดาวเรือง เบญจมาศ กล้วยไม้ มะลิ เยอบีร่า แกลดิโอลัส ฯ ในพืชผัก ตระกูลกระหล่ำ ตระกูลแตง ตระกูลถั่ว ตระกูลพริก-มะเขือ หนอไม้ฝรั่ง ในพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ถั่วต่าง ๆ แม้กระทั่งในองุ่น ศัตรูธรรมชาติ หนอนกระทู้หอม มีศัตรูธรรมชาติหลายชนิด เช่น เชื้อไวรัส ( NPV.), แตนเบียน Apanteles sp., แตนเบียน Charops sp. แมลงวันก้นขน ในวงศ์ Tachinidae, เชื้อรา Spicaria releyi การป้องกันกำจัด - ใช้กับดักแสงไฟ ช่วงเวลา 18.00-22.000 น. เพื่อกำจัดผีเสื้อหนอนกระทู้หอม - ใช้มุ้งตาข่ายไนล่อนคลุมแมลง แต่เป็นการลงทุนสูงต้องคำนวณผลตอบแทนว่าคุ้มดีขนาดไหน - ใช้เชื้อไวรัส (NPV) ฉีดพ่นที่พืชเพื่อให้หนอนกระทู้หนอนกินเข้าไป จะใช้เวลา 2-3 วัน จึงเห็นผล และใช้ได้เฉพาะกับหนอน กระทู้หอมเท่านั้น หนอนชนิดอื่นจะไม่ได้ผล - การใช้เชื้อแบคทีเรีย Bacillus sp. ซึ่งมีหลายสกุลสามารถใช้ได้ผลดี โดยฉีดพ่นที่พืชแล้วให้หนอนกินเข้าไปจึงจะได้ผล - การใช้สารเคมี เช่น สารระงับการลอกคราบ ได้แก่ คลอฟลูอาซูรอนหรือฟลูเฟอนโนซูออน เป็นต้น แต่การจะใช้วิธีใดให้ได้ผลนั้นจะต้องสะดวก สำรวจแปลงพืชเป็นประจำก่อนตัดสินใจในการดำเนินงานป้องกันและกำจัด
ดอกกุหลาบบิดเบี้ยวเสียรูปทรง ดอกไม่บานเพลี้ยไฟ ( Thrips) ชื่อวิทยาศาสตร์ เพลี้ยไฟกุหลายมี 2 ชนิด Scirtothrips dorsalis Hood Thrips coloratus Schmutz ลักษณะการทำลาย เพลี้ยไฟกุหลาบทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ จะดูดกินน้ำเลี้ยงส่วนออ่อนของพืช เช่น ยอดอ่อน ตาดอก ทำให้ดอกมีสีซีดเป็นทางขาว ๆ หรือม สีน้ำตาล , ดำ และเหี่ยวแห้ง ทำให้ใบหงิกงอเป็นคลื่น มีรอยสีน้ำตาล ดำ และแห้งตาย หรือทำให้ดอกและใบบิดเบี้ยวเสียรูปทรง ดอกไม่บาน ตามปกติทำให้เสียคุณภาพ ขายไม่ได้ราคา รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ เพลี้ยไฟมีขนาดเล็กมาก รูปร่างเรียวยาว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยที่มีลักษณะคล้ายกันแต่ตัวอ่อนไม่มีปีก ตัวเมียจะวางไข่ในเนื้อเยื่อพืช จะฟักออกเป็นตัวภายใน 2-3 วัน ตัวอ่อนจะมีสีเหลือง หรือสีฟางข้าว แล้วแต่ชนิด จะเริ่มดูดน้ำเลี้ยงส่วนอ่อนของพืช ต่อมา 4-5 วัน จะเข้าดักแด้ ไม่เคลื่อนไหว ไม่กินอาหาร สังเกตได้โดยหนวดจะหดสั้นชี้ตรงไปข้างหน้า ระยะนี้ใช้เวลา 1-2 วัน ก็เจริญเป็นตัวเต็มวัย มีปีก 2 คู่ ตัวเมียวางไข่โดยไม่ต้องผสมพันธุ์กับตัวผู้ ทำให้ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว การแพร่กระจาย เพลี้ยไฟมีการระบาดรุนแรงมากในฤดูร้อนช่วงที่มีอากาศแห้งแล้ง เคลื่อนที่โดยลม ส่วนมากเคลื่อนไหวในเวลากลางวัน ช่วงเวลา 08.00-12.00 น. พืชอาหาร นอกจากทำลายกุหลาบแล้วไม้ดอกอื่น ๆ ด้วย เช่น กล้วยไม้ เบญจมาศ มะลิ ดาวเรือง แกลดิโอลัส เยอบีร่า ราตรี อัญชัน ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบในพืชเศรษฐกิจทั้งพืชไร่ , พืชผัก, ในไม้ผล และไม้ประดับ เช่น ไทร หูกวาง หูปลาช่อน ฯลฯ การป้องกันกำจัด
การใช้สารเคมีให้พิจารณาถึงปริมาณเพลี้ยไฟว่ามีความรุนแรงขนาดไหน หลังฉีดพ่นแล้วให้ตรวจสอบดูอีกครั้งว่าจะปริมาณลดลง หรือไม่ ตลอดจนพืชอาศัยบริเวณใกล้เคียงซึ่งเป็นแหล่งสะสมด้วย
ดอกกุหลาบหงิกงอเป็นคลื่น ดอกเหี่ยวแห้งเพลี้ยอ่อน ( Aphids) ลักษณะการทำลาย เพลี้ยอ่อน ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบ ยอดอ่อนและดอกทำให้หงิกงอเป็นคลื่น หากมีการระบาดมาก ๆ จะทำให้ไม้ดอกเหี่ยวและอ่อนแอ ไม่ออกดอก บริเวณที่มีเพลี้ยอ่อนระบาดมักจะพบเห็นมดอาศัยกินน้ำหวานที่เพลี้ยอ่อนถ่ายออกมาก จะทำให้เกิดราดำ รูปร่างลักษณะ เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงปากดูดที่มีขนาดเล็ก ผนังลำตัวอ่อนนุ่ม ขยายพันธุ์ได้โดยไม่ต้องมีการผสมพันธุ์และออกลูกเป็นตัว มีทั้งชนิดมีปีก และไม่มีปีก ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ต่างกันที่ขนาดและสี เจริญเติบโตลอกคราบ 4-5 ครั้ง ตัวเต็มวัยขนาด โตเต็มที่ประมาณ 1 มิลลิเมตร สีลำตัวมีตั้งแต่สีเขียวอ่อนไปจนถึงสีดำเข้ม ที่ปลายส่วนท้องจะมีท่อเล็ก ๆ ยื่นยาวออกมา 2 ท่อ เพลี้ยอ่อนตัวหนึ่ง ๆ จะให้ลูกได้ประมาณ 27 ตัว ระยะตัวอ่อนประมาณ 5-6 วัน ระยะตัวเต็มวัยประมาณ 3-14 วัน อายุเฉลี่ย 11 วัน การแพร่กระจาย เพลี้ยอ่อนจะพบเห็นอยู่ทั่วไปตลอดปี การกระจายตัวของเพลี้ยอ่อนเป็นแบบรวมกลุ่ม ปกติจะไม่เกิดการระบาด เพราะธรรมชาติคอย ควบคุม เช่น ปริมาณน้ำฝน ศัตรูธรรมชาติ แต่ถ้าฝนทิ้งช่วงหรือในฤดูแล้ง อากาศร้อนจะเกิดการระบาดของเพลี้ยอ่อน พืชอาหาร ใบไม้ดอก เช่น ดาวเรือง กุหลาบ เบญจมาศ ดอกรัก ชบา ยี่โถ บานชื่น แม้แต่บัว ฯลฯ ในพืชไร่ชนิดต่าง ๆ ในพืชผัก ฯลฯ ศัตรูธรรมชาติ มีทั้งตัวห้ำและตัวเบียนหลายชนิด เช่น แมลงช้างปีกใส , ด้วงเต่าหลายชนิด, แมลงวันกินขยะ การป้องกันและกำจัด พยายามสำรวจแปลงปลูกพืช หากพบศัตรูธรรมชาติมีปริมาณมากให้ปล่อยไว้ สำหรับในฤดูแล้ง หากพบมีการระบาดมากให้ใช้สารสกัด จากสะเดา หรือยาสูบฉีดพ่น หากมีการระบาดรุนแรงศัตรูธรรมชาติไม่สามารถควบคุมได้ ใช้สารเคมี oxydemeton-methyl หรือ omethoate หรือ carbosulfan หรือ methamidophos อย่างใดอย่างหนึ่งฉีดพ่นตามอัตราที่ฉลากระบุ หลังจากนั้น 7 วัน ให้สำรวจ แปลงดูหากยังมีการระบาดอยู่ให้ฉีดพ่นซ้ำอีกครั้ง
หนอนเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในดอกกุหลาบหนอนเจาะสมอฝ้าย ( Cotton bollworm) ชื่อวิทยาศาสตร์ Heliothis armigera (Hubner) ลักษณะการทำลาย หนอนเจาะสมอฝ้าย เป็นแมลงที่ทำความเสียหายให้แก่พืชหลายชนิด แม้กระทั่งกุหลาบจะกัดกินดอก และเจาะเข้าไปอยู่ภายใน ทำความเสียหายให้ดอกกุหลาบจนขายไม่ได้ การระบาดมักเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับหนอนกระทู้หอม รูปร่างลักษณะ หนอนเจาะสมอฝ้าย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ตัวเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ตามส่วนต่าง ๆ ของพืช ไข่มีสีขาวนวลสามารถวางไข่ได้ 1,000-2,000 ฟอง ระยะไข่ 2-3 วัน สีของตัวหนอนเปลี่ยนไปตามวัยและชนิดของพืชอาหาร ลำตัวมีขนและมีแถบสีครีมที่ด้านข้างลำตัว ข้างละแถบ หนอนลอกคราบ 5 ครั้ง ตัวโตเต็มที่ยาวประมาณ 3.5-4 ซ.ม. ระยะหนอน 15-21 วัน จะเข้าดักแด้ตามรอยแตกของดิน ระยะดักแด้ 8-12 วัน ตัวเต็มวัยมีขนาดกางปีกกว้าง 3.2- 3.8 ซม. ปีกคู่หน้าสีน้ำตาลปนแดง มีลายแถบสีน้ำตาลอ่อนพาดตามขวางของ ส่วนปลายปีก ปลายส่วนท้องมีพู่ขนสีเหลือง สำหรับตัวผู้ปีกคู่หน้ามีสีน้ำตาลอมเขียวและส่วนของท้องมีขนสีน้ำตาลเข้ม การแพร่กระจาย หนอนเจาะสมอฝ้าย จะมีการระบาดเป็นครั้งคราวในการปลูกไม้ดอก ในพื้นราบ แต่จะมีการระบาดมากในพื้นที่สูงช่วงฤดูหนาว-ฤดูร้อน ระหว่างกุมภาพันธ์-พฤษภาคม พืชอาหาร มีพืชอาหารหลายชนิด ไม้ดอก เช่น กุหลาบ เบญจมาศ ดาวเรือง เยอบีร่า คาร์เนชั่น ฯ ในพืชผักตระกูลพริก-มะเขือ ตระกูลแตง พืชไร่ เช่น ข้าวโพด ฝ้าย ถัวต่าง ๆ ศัตรูธรรมชาติ ในธรรมชาติจะพบแมลงวันก้นขน ( Tachinid fly), มวนพิฆาต, มวนเพชรฆาต ฯ ทำลายหนอนเจาะสมอฝ้าย การป้องกันกำจัด หนอนเจาะสมอฝ้ายเป็นหนอนที่มีพืชอาหารหลายชนิดและต้านทานสารเคมีหลายชนิด ถ้ามีการปลูกไม่มากนักได้ใช้มือจับเก็บ ตัวหนอนมาทำลาย แต่ถ้ามีการปลูกเป็นแปลงหรือส่วนขนาดใหญ่หากสำรวจพบมีการระบาดรุนแรง พบศัตรูธรรมชาติน้อย จึงมี การใช้สารฉีดพ่นกำจัด เช่น สารแบคทีเรีย ( Bt.), สารไพทรอยด์, สารระงับการลอกคาบ และสารเคมีพวกโปรฟีโนฟอส เป็นต้น โดยใช้อัตราตามคำแนะนำบนสลาก หลังฉีดพ่นแล้วให้สำรวจแปลงดูทุกครั้งว่าการระบาดลดลงหรือไม่
|
||
![]() |